มุม Microfeap
ตอนที่ 2
ความสามารถของโปรแกรม
MicroFEAP for Windows
โมดูล P1
เขียน 22/11/45

1) โปรแกรมมี Structural Library Systems ให้เลือกใช้งานได้ 3 ประเภท ดังนี้

Truss System

ใช้กับโครงสร้างประเภทโครงข้อหมุน (Truss Structure) ทั่วไป โดยชิ้นส่วนทั้งหมดจะถูกจำลองเป็น Truss Element (ชิ้นส่วนรับแรง Axial Force อย่างเดียว) เช่น โครงหลังคาโรงงาน ป้ายโฆษณา เสาไฟแรงสูง เสาส่งวิทยุ/โทรทัศน์ เป็นต้น

Frame System

ใช้กับโครงสร้างประเภทโครงข้อแข็ง (Frame Structure) ทั่วไป โดยชิ้นส่วนทั้งหมดจะถูกจำลองเป็น Beam Element (ชิ้นส่วนรับแรง Axial Force, Shear และ Moment) เช่น โครงสร้างคาน โครงสร้างอาคารแบบ 2 มิติ โครงสร้างสะพาน เป็นต้น

Truss/Frame/Wall System

ใช้กับระบบโครงสร้างผสมที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนของ Truss และ Beam ปนกัน เช่น โครงสร้าง Gable Frame ตัวเสาและคานเอียงจะจำลองเป็น Beam ส่วน Cable ที่ยึดรั้งจะจำลองเป็นชิ้นส่วนของ Truss หรือตัวอย่างของหลังคาโรงงานที่ต้องการจะวิเคราะห์พร้อมกับเสา วิศวกรสามารถจำลองหลังคาเป็นชิ้นส่วนของ Truss และจำลองเสาเป็น Beam ได้ หรือโครงสร้างอาคารที่จะคิดรวมกับ Transferred Beam ซึ่งถูกออกแบบเป็น Truss ก็สามารถวิเคราะห์ได้ด้วย Library นี้เป็นต้น



ตัวอย่างโครงสร้างที่ P1 วิเคราะห์ได้

2) สามารถวิเคราะห์ในกรณีที่ต้องการคิดผลกระทบเนื่องจากขนาดมิติของ Rigid Joint

3) สามารถวิเคราะห์โครงสร้างที่มี Internal Hinge ในชิ้นส่วนได้

4) ที่จุดรองรับ (Support) เป็นได้ทั้ง Roller, Hinge หรือ Fix โดยระบุสถานะใน Boundary Conditions

5) น้ำหนักภายนอก (External Loads) สามารถกระทำที่ Node หรือบน Element ก็ได้

6) สามารถวิเคราะห์โครงสร้างเนื่องจากการทรุดตัวที่ Support หรือโครงสร้างที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของชิ้นส่วน

ความสามารถด้านการแสดงผล

แบบตัวเลข

  1. สามารถแสดงผลตัวเลขของข้อมูลที่ป้อน (Input Data) เช่น ข้อมูลของ Nodes, Elements และ Load Case ต่างๆ ได้ทั้งทางจอภาพและทางเครื่องพิมพ์
  2. สามารถแสดงผลลัพธ์แบบตัวเลข (Output Results) ได้แก่ ค่า Nodal Displacements, Element Stresses, Support Reactions และค่า Volume of Materials (ปริมาณวัสดุที่ใช้) ผู้ใช้สามารถเลือกดูผลของ Load Case หรือผลรวมรวมจากกรณีการรวมแรง (Load Combination) ตามค่า Load Factor ที่กำหนด หรือจะเลือกดูเฉพาะบาง Nodes, บาง Elements หรือระบุ Material Set ที่ต้องการได้ จะช่วยลดปริมาณ Output กรณีการวิเคราะห์ปัญหาใหญ่ได้
  3. พิมพ์ผลออกทางเครื่องพิมพ์บนกระดาษ A4 ในรูปแบบของรายงาน โดยที่ส่วนหัวของทุกหน้าจะพิมพ์ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ Project นั้นๆ เพื่อเตือนความจำ เช่น Master Filename, วันที่, ชื่อวิศวกร และชื่อเจ้าของโปรแกรม เป็นต้น

แบบรูปภาพ

  1. แสดงรูป Graphics ของ Geometry ให้ตรวจสอบโครงสร้างก่อนทำการ Solution ได้ เช่น ตรวจสอบการป้อน Node, Element และกลุ่ม Material Set
  2. แสดงรูป Graphics ของผลลัพธ์จากการคำนวณ โดยผู้ใช้สามารถเลือกดูได้ในช่อง Graphics Menu เช่น รูปของ Displacements, Axial Forces, Shears และ Moments ในส่วนของระบบ Truss System จะเพิ่มรูปของ Stress ให้เลือก
  3. นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเลือกแสดงผลของแต่ละ Load Case หรือกรณี Load Combination พร้อมแสดงค่าตัวเลขกำกับที่จุดต่างๆ ได้
  4. ในกรณีที่ต้องการจะขยายดูรูปเป็นบางส่วน ผู้ใช้สามารถลาก Mouse ตีกรอบเพื่อขอ Zoom ดูในส่วนที่ต้องการได้
  5. สามารถพิมพ์รูป Graphics ออกทางเครื่องพิมพ์ได้ โดยมี Scale กำกับไว้